|
|
|
คำว่า “สุไหงปาดี” เป็นภาษาท้องถิ่นมาลายู แปลว่า “คลองข้าวเปลือก” สาเหตุที่เรียกว่า สุไหงปาดี หรือ คลองข้าวเปลือก สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวก คงใช้เฉพาะทางเรือในการสัญจรไปมา ค้าขายตั้งแต่ปากน้ำบางนราถึงคลองตากใบ และคลองสุไหงปาดีในที่สุด โดยใช้แม่น้ำลำคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี และบริเวณทั้งสองฝั่งคลอง มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ |
|
|
|
โดยเฉพาะมีการปลูกข้าวเปลือก จึงได้เรียกคลองที่เป็นเส้นทางผ่านไปมาว่า “สุไหงปาดี” |
|
เมื่อสมัยปี พ.ศ 2440 ตำบลสุไหงปาดี เคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสุไหงปาดี บริเวณสี่แยก บ้านท่า หมู่ที่ 11 ตำบลสุไหงปาดี (ปัจจุบัน) และต่อมาจึงย้ายไปตั้งที่ตำบลปะลุรูจนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงใช้ชื่อ อำเภอสุไหงปาดี คำว่า สุไหง แปลว่า คลอง คำว่า ปาดี แปลว่า ข้าวหรือข้าวเปลือก |
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ได้ยกฐานะจากสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2539 ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ตำบลสุไหงปาดี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ระยะห่างประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 172.645 ตารางกิโลเมตร หรือ 107,903.01 ไร่ |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง และตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี และตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลพร่อน และตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี และตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง |
|
|
ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง
และ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ |
ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี และ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง |
หมู่ 7
หมู่ 11
หมู่ 8
หมู่ 12
หมู่ 1
หมู่ 9
หมู่ 2
หมู่ 6
หมู่ 4
หมู่ 3
หมู่ 10
หมู่ 5
|
ตำบลพร่อน และตำบลโฆษิต
อำเภอตากใบ |
ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี
และ ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก |
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 8,120 คน แยกเป็น |
|
ชาย จำนวน 3,980 คน |
|
|
หญิง จำนวน 4,140 คน |
|
ความหนาแน่นเฉลี่ย 47 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
แผนพัฒนา หมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
บ้านไอกูบู |
|
500 |
497 |
997 |
203 |
2 |
บ้านแซะ |
|
294 |
313 |
607 |
228 |
3 |
บ้านใหม่ |
|
482 |
488 |
970 |
404 |
4 |
บ้านเจาะกด |
|
328 |
350 |
978 |
270 |
5 |
บ้านตาเซะเหนือ |
|
458 |
468 |
926 |
267 |
6 |
บ้านควน |
|
376 |
392 |
768 |
452 |
7 |
บ้านปิเหล็ง |
|
245 |
206 |
451 |
184 |
8 |
บ้านป่าหวาย |
|
146 |
171 |
317 |
105 |
9 |
บ้านตลิ่งสูง |
|
554 |
596 |
1,150 |
252 |
10 |
บ้านป่าเย |
|
57 |
46 |
103 |
47 |
11 |
บ้านท่า |
|
204 |
231 |
435 |
165 |
12 |
บ้านใหญ่ |
|
336 |
382 |
718 |
235 |
รวม |
3,980 |
4,140 |
8,120 |
2,812 |
|
ที่มา : ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือนมกราคม พ.ศ.2565
|
|